เริ่มต้นปีการศึกษา หนึ่งในกิจกรรมต้อนรับนักศึกษาใหม่ก้าวสู่รั้วมหาวิทยาลัยด้วยความอบอุ่น “การรับน้อง” ประเพณีนี้ได้ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น
ทุก ๆ ปี ในกิจกรรมที่มีความหมายนี้มีความเคลื่อนไหวให้ติดตามทั้งการรับน้องที่ไม่เหมาะสม เกิดเป็นปัญหาความรุนแรงโดยได้มีการย้ำเตือนกันบ่อยครั้ง ขณะที่อีกด้านหนึ่งถ่ายทอดความงดงามของประเพณีการรับน้องใหม่ด้วยหลากหลายกิจกรรมสร้างสรรค์นำไปสู่ความรักความสามัคคี ก่อเกิดมิตรภาพ และความแน่นแฟ้นกลมเกลียว เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนิสิตนักศึกษารุ่นต่อไป
เนื่องด้วยการรับน้องของแต่ละคณะ แต่ละมหาวิทยาลัยมีรูปแบบเอกลักษณ์ ความโดดเด่นแตกต่างกัน จักรพล บัวโฮม นายกองค์การบริหาร องค์การนิสิต มหา วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ถ่ายทอดมุมมองการรับน้องสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นว่า เกษตรศาสตร์สานต่อกิจกรรมการรับน้องมายาวนานกว่าหกสิบปีซึ่งถึงวันนี้ยังคงเป้าหมาย ความสำคัญของการรับน้องไว้
“การรับน้องเป็นกิจกรรมที่มีความหมายทำให้น้องใหม่ได้พบเพื่อน พบปะรุ่นพี่ทำกิจกรรมร่วมกันช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ดังที่ทราบการเรียนในมหาวิทยาลัยน้องใหม่ต้องปรับตัวจากที่เคยเรียนแปดโมงเช้าถึงสี่โมงเย็นอาจเรียนแค่เก้าโมงเช้าเลิกเที่ยง การมีกิจกรรมให้น้องร่วมทำเรียนรู้ร่วมกันจึงเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ กิจกรรมรับน้องส่วนใหญ่จึงเป็นการรับน้องเชิงสร้างสรรค์ ปรับรูปแบบให้เข้ากับยุคสมัย”
การรับน้องของมหาวิทยาลัยเริ่มขึ้นด้วยการรับรวม อย่างที่เพิ่งผ่านไปก่อนเปิดเทอม องค์การบริหารองค์การนิสิต มหา วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดกิจกรรม “สู่อ้อมกอดนนทรี” เป็นวันแรกพบ น้องใหม่ทั้งหมดจะพบปะกันทำกิจกรรมร่วมกันซึ่งมีกิจกรรมในฐานต่าง ๆ ทั้งฐานสันทนาการ ฐานสานสัมพันธ์ ฐานบำเพ็ญประโยชน์ ฐานสัญลักษณ์ และฐานสอนน้องร้องเพลง จากนั้นแต่ละคณะ สาขาวิชาจะรับน้องเป็นกิจกรรมที่มีต่อเนื่องไป
“การรับน้องปัจจุบันปรับเข้ากับสภาพสังคม ปลูกฝังความรักความสามัคคีความรักมหาวิทยาลัยซึ่งในรูปแบบกิจกรรมจะเน้นความร่วมมือทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้องไม่ใช่การสั่ง แต่เป็นความเข้าใจกัน ซึ่งแต่ละคณะจะมีการรับน้องสร้างสรรค์มีเอกลักษณ์สืบสานรูปแบบประเพณีของคณะ”
กิจกรรมรับน้องนอกจากมีความหมายต่อการเรียนในมหาวิทยาลัย การรับน้องยังมีความหมายเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเหลือสังคมได้และจากสภาพสังคม สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปทำให้รูปแบบอาจต้องปรับเปลี่ยนไปบ้างเพื่อให้เหมาะสมเข้ากับยุคสมัย แต่ในทรรศนะของจักรพลมองว่า การรับน้องเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญซึ่งไม่เพียงแต่จะสร้างความสามัคคี ความแน่นแฟ้น กลมเกลียวเท่านั้น แต่ยังมีความอบอุ่นถ่ายทอดความภาคภูมิใจความเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้วย
“ทุกครั้งของการรับน้องมักเป็นที่ห่วงใยของผู้ปกครอง แนวคิดการรับน้องสร้างสรรค์ปีนี้ในนโยบายการป้องกันจึงเปิดศูนย์รับน้องร่วมกันสอดส่องดูแลว่ามีการ กระทำใดที่เกินกว่ามหาวิทยาลัยกำหนดหรือเป็นข้อห้ามหรือไม่ ขณะที่การรับน้องในภาพรวมเริ่มจากการปฐมนิเทศ สันทนา การให้น้องใหม่จากคณะต่าง ๆ ได้ทำกิจกรรม
ร่วมกันกับรุ่นพี่ทำให้รู้จักกันเป็นเสมือนการละลายพฤติกรรม ช่วงบ่ายก็จะมีพิธีบายศรีสู่ขวัญให้กับน้องใหม่ได้ภาคภูมิใจในมหาวิทยาลัย”
อีกกิจกรรมที่ส่งเสริมความรักความผูกพันสามัคคีคือ สอนน้องร้องเพลงสถาบัน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สืบสานต่อเนื่องมาโดยปีนี้เข้มข้นมากขึ้น ส่งเสริมการร้องให้ถูกต้องและเข้าใจในความหมายของเนื้อเพลง จากนั้นส่งต่อให้กับคณะซึ่งแต่ละคณะจะสร้างสรรค์กิจกรรมรับน้องที่มีเอกลักษณ์เฉพาะที่สืบสานต่อกันมา
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมรับน้องสร้างสรรค์ พาน้องเข้าวัดฟังธรรมะ บำเพ็ญประโยชน์กวาดวัด ทำความสะอาดศาลา รวมทั้งกิจกรรมสอดคล้องกับการเรียนอย่าง คณะคหกรรมศาสตร์มีการเรียนการสอนแฟชั่นดีไซน์ รุ่นพี่จะให้น้องใหม่สร้างสรรค์ออกแบบแต่งตัวทำให้น้องได้เริ่มต้นเรียนรู้กับสาขาวิชาของตัวเอง ซึ่งเป็นอีกประสบ การณ์ดี ๆ ต้อนรับการก้าวสู่รั้วมหาวิทยาลัยของนักศึกษาใหม่.
ทุก ๆ ปี ในกิจกรรมที่มีความหมายนี้มีความเคลื่อนไหวให้ติดตามทั้งการรับน้องที่ไม่เหมาะสม เกิดเป็นปัญหาความรุนแรงโดยได้มีการย้ำเตือนกันบ่อยครั้ง ขณะที่อีกด้านหนึ่งถ่ายทอดความงดงามของประเพณีการรับน้องใหม่ด้วยหลากหลายกิจกรรมสร้างสรรค์นำไปสู่ความรักความสามัคคี ก่อเกิดมิตรภาพ และความแน่นแฟ้นกลมเกลียว เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนิสิตนักศึกษารุ่นต่อไป
“การรับน้องเป็นกิจกรรมที่มีความหมายทำให้น้องใหม่ได้พบเพื่อน พบปะรุ่นพี่ทำกิจกรรมร่วมกันช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ดังที่ทราบการเรียนในมหาวิทยาลัยน้องใหม่ต้องปรับตัวจากที่เคยเรียนแปดโมงเช้าถึงสี่โมงเย็นอาจเรียนแค่เก้าโมงเช้าเลิกเที่ยง การมีกิจกรรมให้น้องร่วมทำเรียนรู้ร่วมกันจึงเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ กิจกรรมรับน้องส่วนใหญ่จึงเป็นการรับน้องเชิงสร้างสรรค์ ปรับรูปแบบให้เข้ากับยุคสมัย”
การรับน้องของมหาวิทยาลัยเริ่มขึ้นด้วยการรับรวม อย่างที่เพิ่งผ่านไปก่อนเปิดเทอม องค์การบริหารองค์การนิสิต มหา วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดกิจกรรม “สู่อ้อมกอดนนทรี” เป็นวันแรกพบ น้องใหม่ทั้งหมดจะพบปะกันทำกิจกรรมร่วมกันซึ่งมีกิจกรรมในฐานต่าง ๆ ทั้งฐานสันทนาการ ฐานสานสัมพันธ์ ฐานบำเพ็ญประโยชน์ ฐานสัญลักษณ์ และฐานสอนน้องร้องเพลง จากนั้นแต่ละคณะ สาขาวิชาจะรับน้องเป็นกิจกรรมที่มีต่อเนื่องไป
“การรับน้องปัจจุบันปรับเข้ากับสภาพสังคม ปลูกฝังความรักความสามัคคีความรักมหาวิทยาลัยซึ่งในรูปแบบกิจกรรมจะเน้นความร่วมมือทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้องไม่ใช่การสั่ง แต่เป็นความเข้าใจกัน ซึ่งแต่ละคณะจะมีการรับน้องสร้างสรรค์มีเอกลักษณ์สืบสานรูปแบบประเพณีของคณะ”
กิจกรรมรับน้องนอกจากมีความหมายต่อการเรียนในมหาวิทยาลัย การรับน้องยังมีความหมายเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเหลือสังคมได้และจากสภาพสังคม สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปทำให้รูปแบบอาจต้องปรับเปลี่ยนไปบ้างเพื่อให้เหมาะสมเข้ากับยุคสมัย แต่ในทรรศนะของจักรพลมองว่า การรับน้องเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญซึ่งไม่เพียงแต่จะสร้างความสามัคคี ความแน่นแฟ้น กลมเกลียวเท่านั้น แต่ยังมีความอบอุ่นถ่ายทอดความภาคภูมิใจความเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้วย
“ทุกครั้งของการรับน้องมักเป็นที่ห่วงใยของผู้ปกครอง แนวคิดการรับน้องสร้างสรรค์ปีนี้ในนโยบายการป้องกันจึงเปิดศูนย์รับน้องร่วมกันสอดส่องดูแลว่ามีการ กระทำใดที่เกินกว่ามหาวิทยาลัยกำหนดหรือเป็นข้อห้ามหรือไม่ ขณะที่การรับน้องในภาพรวมเริ่มจากการปฐมนิเทศ สันทนา การให้น้องใหม่จากคณะต่าง ๆ ได้ทำกิจกรรม
ร่วมกันกับรุ่นพี่ทำให้รู้จักกันเป็นเสมือนการละลายพฤติกรรม ช่วงบ่ายก็จะมีพิธีบายศรีสู่ขวัญให้กับน้องใหม่ได้ภาคภูมิใจในมหาวิทยาลัย”
อีกกิจกรรมที่ส่งเสริมความรักความผูกพันสามัคคีคือ สอนน้องร้องเพลงสถาบัน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สืบสานต่อเนื่องมาโดยปีนี้เข้มข้นมากขึ้น ส่งเสริมการร้องให้ถูกต้องและเข้าใจในความหมายของเนื้อเพลง จากนั้นส่งต่อให้กับคณะซึ่งแต่ละคณะจะสร้างสรรค์กิจกรรมรับน้องที่มีเอกลักษณ์เฉพาะที่สืบสานต่อกันมา
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมรับน้องสร้างสรรค์ พาน้องเข้าวัดฟังธรรมะ บำเพ็ญประโยชน์กวาดวัด ทำความสะอาดศาลา รวมทั้งกิจกรรมสอดคล้องกับการเรียนอย่าง คณะคหกรรมศาสตร์มีการเรียนการสอนแฟชั่นดีไซน์ รุ่นพี่จะให้น้องใหม่สร้างสรรค์ออกแบบแต่งตัวทำให้น้องได้เริ่มต้นเรียนรู้กับสาขาวิชาของตัวเอง ซึ่งเป็นอีกประสบ การณ์ดี ๆ ต้อนรับการก้าวสู่รั้วมหาวิทยาลัยของนักศึกษาใหม่.
“การรับน้องปัจจุบันปรับเข้ากับสภาพสังคม ปลูกฝังความรักความสามัคคีความรักมหาวิทยาลัย ซึ่งในรูปแบบกิจกรรมจะเน้นความร่วมมือทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง ไม่ใช่การสั่ง แต่เป็นความเข้าใจกัน”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น